ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ, การออกอากาศเปิดประเด็นร้อน ตอน “กระชากหน้ากากบรรพตล้มเจ้าและสัมพันธ์ที่แนบกับระบอบทักษิณ” ทางช่องรายการทีนิวส์, รายการมองไกล ทางช่อง Peace TV, สปริงนิวส์-เนชั่น, การอนุมัติผังรายการหลัก ประจำปี 2558 ของสถานีวิทยุกระจายเสียงในเครือข่ายของกองบัญชาการกองทัพไทย, เวิร์คพ้อยทีวี

ใน การประชุม กสท. ครั้งที่ 11/2558 วันที่ 23 มี.ค.58 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. ได้เห็นชอบกับข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. และมีความเห็นเพิ่มเติมตามบันทึกที่แนบ ในวาระ 4.29 การตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ ด้วยระหว่างวันที่ 15 – 17 ธันวาคม 2557 บ. โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด(มหาชน) “SLC” เข้าซื้อหุ้นสามัญของ บ. เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) “NMG” จำนวน 404.94 ล้านหุ้น คิดเป็น 12.27%  ของจำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว โดยที่ NMG ถือหุ้นใน บ. เนชั่น บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น “NBC” 71.30% ซึ่งถือหุ้นในบริษัทเอ็นบีซี เน็กซ์วิชั่น จำกัด “NNV” 99.99% แสดงให้เห็นว่า NMG มีสถานะเป็น บ. ใหญ่ใน NNV ผู้รับใบอนุญาตฯ ตามหมวดหมู่ข่าวสารและสาระ สำนักงานได้พิจารณาแล้ว จึงเสนอต่อที่ประชุม กสท. เพื่อพิจารณา ดังนี้ 1.ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ พบว่าการเข้าซื้อหุ้นของ SLC ใน NMG ส่งผลให้ Springnews Television และ NNV ซึ่งต่างเป็นผู้รบใบอนุญาตฯ หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ เป็น “ผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน” โดยมี SLC ซึ่งมีสถานะเป็นผู้มีอำนาจควบคุมผู้รับใบอนุญาตหนึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของผู้มีอำนาจควบคุมของผู้รับใบอนุญาตอีกรายหนึ่งในหมวดหมู่เดียวกัน สำหรับการประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลฯ ซึ่งนอกจากจะขัดต่อข้อ 7.2 แห่งประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. 2556 แล้ว ยังขัดต่อข้อ 8.4 และ 8.5 แห่งประกาศฉบับเดียวกัน ซึ่งกำหนดสัดส่วนการกระทำที่เป็นการครอบงำกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลฯ โดยอาศัยอำนาจมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 2.พิจารณาออกคำสั่งทางปกครองไปยังผู้รับใบอนุญาตให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้น เพื่อแก้ไขมิให้มีความสัมพันธ์ในลักษณะการเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้รับใบอนุญาตทั้งทางตรงและทางอ้อม และไม่ก่อให้เกิดการถือครองใบอนุญาตฯในหมวดหมู่เดียวกันเกินสัดส่วนที่กำหนดตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์เพื่อประกอบกิจการทางธุรกิจ พ.ศ. 2556 ทั้งนี้ การดำเนินการแก้ไขดังกล่าวให้กระทำภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ทั้งนี้ กสท. มีมติ ดังนี้ ที่มาข้อมูล ลิ้งค์ www.nbtc.go.th

  1. ประธาน กสท.(พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์) และ กสทช.พันตำรวจเอก ทวีศักดิ์ งามสง่า งดออกเสียงและมีข้อสังเกตเพิ่มเติมตามบันทึกที่แนบ
  2. กสทช. พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ ไม่เห็นชอบกับข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. และมีความเห็นเพิ่มเติมตามบันทึกแนบ
  3. กสทช. ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ เห็นชอบกับข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. ทั้งข้อ 1 และข้อ 2 และมีความเห็นเพิ่มเติมตามบันทึกที่แนบ
  4. กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์ เห็นชอบกับข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. ทั้งข้อ 1 และข้อ 2 และมีความเห็นเพิ่มเติมตามบันทึกที่แนบ
  5. การลงมติตามข้อ 41(1) ของระเบียบ กสทช. ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2555 กำหนดให้ใช้เสียงข้างมากของคณะกรรมการผู้มาประชุม เมื่อประธาน กสท. และ กสทช.พันตำรวจเอกทวีศักดิ์ งดออกเสียง ถือได้ว่าเป็นการลงมติในเรื่องดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีผลเท่ากับว่าไม่เห็นชอบกับข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. ทั้งข้อ 1 และข้อ 2 กสทช. ผศ.ดร.ธวัชชัย และ กสทช.สุภิญญา เห็นชอบกับข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. ทั้งข้อ 1 และข้อ 2 ส่วน กสทช. ดร.พีระพงษ์ ไม่เห็นชอบกับข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. ทั้ง 2 ข้อ จึงทำให้มีมติไม่เห็นชอบกับข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. ทั้งข้อ 1 และข้อ 2

ทั้งนี้ นางสาวสุภิญญา ได้เปิดเผยความเห็น ดังนี้ “ดิฉันเห็นชอบกับข้อเสนอของสำนักงานที่เสนอให้ออกคำสั่งทางปกครองไปยังผู้รับใบอนุญาตให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้น เพื่อแก้ไขมิให้มีความสัมพันธ์ในลักษณะการเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้รับใบอนุญาตทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากเห็นสอดคล้องกับผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของผู้เชี่วชาญกรณีการเข้าถือครองหุ้น NMG ของ SLC โดยมีเหตุผลสนับสนุนดังต่อไปนี้ 1. ดิฉันสนับสนุนมติของอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. ที่เห็นว่า ข้อ 8.4 และ 8.5 ของประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ ได้กำหนดสัดส่วนการกระทำที่เป็นการครอบงำกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล โดยอาศัยอำนาจตามาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. การประกบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 แล้ว กรณีจึงต้องถือว่า ข้อกำหนดข้างต้นย่อมมีผลใช้บังคับกับผู้รับใบอนุญาต ทั้งนี้ การกำหนดสัดส่วนดังกล่าวจำเป็นต้องนำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อห้ามการเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันตามข้อ 7.2 ของประกาศฉบับเดียวกันมาพิจารณาประกอบด้วย 2. ดิฉัน เห็นว่า สำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการในกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและครบถ้วน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงแสดงหลักฐานผ่านการประชุมจำนวน 3 ครั้ง โดยเชิญผู้แทนจาก NMG และ NNV ผู้แทนจาก SLC และ Springnews Television รวมทั้งได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์บริการวิชาการ สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความสัมพันธ์ของผู้ขอรับใบอนุญาตที่ยื่นประมูล ตลอดรวมถึงผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เข้าร่วมรับฟังตลอดจนรวบรวมข้อเท็จจริง ข้อวิเคราะห์และจัดทำความเห็น ประกอบด้วย  4  ประเด็น สำคัญ ได้แก่ 1)  กรณีการเข้าซื้อหุ้นของ SLC ใน NMG ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในลักษณะการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของผู้มีอำนาจควบคุมของผู้รับใบอนุญาต ตามหลักเกณฑ์ข้อห้ามการเป็น “ผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน” โดยการพิจารณาจะต้องพิจารณาทุกทอดตลอดสาย และไม่มีการลดทอนหุ้นในแต่ละลำดับชั้น 2)  หากกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลฯ ผู้รับใบอนุญาต NNV และ Springnews Television จะขาดคุณสมบัติในการเข้าร่วมการประมูลทันที

                3)  ควรมีการออกคำสั่งหรือมาตรการให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อมิให้มีความสัมพันธ์ในลักษณะการเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้รับใบอนุญาต เช่น การลดหรือเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการเข้าถือหุ้นดังกล่าวให้ต่ำกว่าร้อยละ 10 โดยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดนผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยและจะต้องรักษาสัดส่วนความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับใบอนุญาตมิให้ขัดกับหลักเกณฑ์การประมูลฯ ตลอดอายุใบอนุญาต

                               และ 4) ขอให้ที่ประชุมรับข้อสังเกต กรณีความสัมพันธ์ระหว่า SLC และ POLARIS เพื่อพิจารณาเพิ่มเติมหากปรากฏข้อเท็จจริง หรือเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินการแก้ไขในการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นตามคำสั่งที่ได้รับต่อไป

                3. สำหรับหลักการของการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของผู้มีอำนาจควบคุมของผู้รับใบอนุญาต ซึ่งเข้าเกณฑ์การเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันนั้น จากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ประจักษ์ชัดว่า SLC ถือหุ้นของผู้รับใบอนุญาตบริษัท Springnews Television ร้อยละ 99.99 ขณะเดียวกัน SLC ไปซื้อหุ้น NMG 12.27% โดย NMG ถือ ร้อยละ 71.30 และ NBC ถือหุ้น NNV ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตร้อยละ 99.99  ดังนั้น เมื่อพิจารณาโครงสร้างการถือหุ้นย้อนขึ้นไปจะพบว่ามี SLC เป็นผู้มีอำนาจควบคุม ขณะที่ในส่วนของ NNV เมื่อพิจารณาโครงสร้างการถือหุ้นย้อนขึ้นไปจะพบว่ามีทั้ง NMG และยังพบ SLC อีกด้วย จากโครงสร้างนี้จึงแสดงให้เห็นว่า SLC  อยู่ด้านบนของโครงสร้างการถือหุ้นของผู้รับใบอนุญาตฯ ทั้งสองบริษัท จึงถือว่า เป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ในส่วนของการทอนหุ้น ดิฉันได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญว่าตามหลักการจะไม่ทอนหุ้น  เนื่องจากเป็นหลักในการพิจารณาการถือครองหุ้นผ่านบุคคลอื่น (nominee) กรณีนี้จึงพบว่า SLC เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่บนด้านบนของทั้งสองด้าน โดยต้องพิจารณาภาพรวมโครงสร้างทั้งหมด ยุบรวมและถือว่า SLC เป็นผู้มีอำนาจควบคุม

                4. นอกจากนี้ สำนักงานควรตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อสังเกตของผู้เชี่ยวชาญและข้อเท็จจริงที่ทางบริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น จำกัด ร้องเรียนและแสดงหลักฐานที่แสดงถึงพฤติการณ์ในการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่าง SLC และ POLARIS เพื่อพิจารณาเพิ่มเติมหากปรากฏข้อเท็จจริงหรือเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมในภายหลังเพื่อตรวจสอบในขั้นตอนการดำเนินการแก้ไขในการลดสัดส่วนการถือหุ้นต่อไป

                5. ดิฉันมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ในเรื่องการป้องกันการผูกขาดตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการฯ ในภาพรวมแม้จะไม่มีการออกประกาศที่ครอบคลุมทุกประเภทกิจการโดยตรง แต่สำหรับการประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล นั้น ได้มีการกำหนดไว้ในเงื่อนไขการประมูล โดยอาศัยอำนาจตามาตรา 31 ในการออกประกาศดังกล่าวเพื่อมาจำกัดสิทธิเสรีภาพผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการประมูล  ซึ่งเกณฑ์การเข้าร่วมประมูลโดยทั่วไปมุ่งเน้นไปเพื่อป้องกันการสมยอมในเรื่องราคาเป็นสำคัญ แต่สำหรับในกรณีของการประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล มีความต่างออกไป โดยเฉพาะการนำเอาเนื้อหาในส่วนมาตรา 3 มาขยายลงไปในเงื่อนไขการประมูล โดยการตรวจสอบหลายขั้นตอน เช่น ผู้มีอำนาจควบคุม การถือหุ้นไขว้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นต้น เงื่อนไขนี้จึงกำหนดขึ้นเพื่อป้องกันการผูกขาดในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ดังนั้น สำนักงานจึงควรพิจารณาหลักเกณฑ์ในการป้องกันการผูกขาดสำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ประเภทอื่นๆ เช่น วิทยุ เคเบิล ดาวเทียม เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่ในการกำกับกิจการประเภทอื่นต่อไป

                6. อย่างไรก็ตาม สำหรับการลงมติในการพิจารณาความเห็นของกรรมการครั้งนี้ เนื่องจาก กรรมการ กสท. ได้ลงมติแตกต่างกันดังต่อไปนี้

                               1. กสทช. สุภิญญาฯ และ กสทช. ผศ.ดร.ธวัชชัยฯ เห็นชอบข้อเสนอของสำนักงานในการพิจารณาวาระดังกล่าวพร้อมมีเหตุผลประกอบ

                               2. กสทช. พ.อ.ดร.นทีฯ และ กสทช. พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ฯ งดออกเสียงพร้อมมีข้อสังเกตเพิ่มเติม

                               3. กสทช.พลโท ดร. พีระพงษ์ฯ ไม่เห็นชอบข้อเสนอของสำนักงานฯ พร้อมมีเหตุผลประกอบ

               ดิฉันจึงประสงค์ให้สำนักงานพิจารณาระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2555 และ ระเบียบฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ตลอดจนแนวปฏิบัติของการประชุม กสทช. ที่ผ่านมาหรือกรณีเทียบเคียง ในการพิจารณาการลงมติเสียงข้างมากและการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นในการลงมติวาระข้างต้น โดยได้จัดบันทึกข้อความที่ สทช. 1003.9/042  ลงวันที่ 25 มีนาคม 2558 ถึงเลขาธิการ กสทช. แล้ว”

Comment-NBC-11-58-1

Comment-NBC-11-58-2